หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีการชาร์จแบตเตอรี่ Notebook

แต่ไหนแต่ไรไม่เคยสนใจเรื่องแบตเตอรี่เลย แต่มาวันนี้พอแบตเตอรี่มันเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นแบต 6-cell ใช้ไปประมาณ 1 ปีครึ่ง แล้วได้ทำการซื้อใหม่ โดยทำการซื้อแบต 9-cell สำหรับเครื่อง Lenovo Thinkpad x200 มา แต่ด้วยความที่ไม่รู้ข้อมูลเรื่องแบตเลยก็เลยถามคนขายว่าควรชาร์จครั้งแรกทิ้งไว้นานเท่าไหร่ ซึ่งเค้าตอบกลับมาว่าประมาณ 16 ชั่วโมง ด้วยเหตุเหล่านี้เลยเกิดคำถามขึ้นมาในใจหลายคำถาม เช่น
1. ทำไมแบตฯตัวเก่ามันหมดอายุเร็วจัง (ปัจจุบันชาร์จเต็มที่ได้แค่ 15 นาทีบน Ubuntu Linux ถ้าบน Windows อาจได้ประมาณ 40 นาที (ไม่ได้ทดลอง แต่ตอนซื้อมาใหม่ๆ Windows ใช้ได้ 4-5 ชม. ขณะที่ Ubuntu ใช้ได 2-3 ชม.))
2. แบตเมื่อซ์อมาครั้งแรกควรชาร์จยังไงดีเพื่อให้ใช้เต็มประสิทธิภาพ
3. เวลาชาร์จใหม่ ควรใช้แบตไปเยอะๆก่อน หรือว่าอยากชาร์จตอนไหนก็ได้

ก็เลยลองไปค้นๆข้อมูลดูและเอามาเล่า/แปลให้ฟัง

แต่ก่อนที่ควรรู้คือ ประเภทของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ปัจจุบันที่ใช้ใน Notebook มีหลักๆ 3 ประเภท
1. NickelCadmium (NiCd) เป็นแบตที่มีใช้กันเยอะ โดยมีข้อดีคือทำงานในที่อุณหภูมิสูงมากหรือต่ำมากได้ และมีจำนวนรอบของการชาร์จเต็มและใช้จนหมดได้ถึงประมาณ 750 รอบการชาร์จ แต่ข้อเสียคือมี Memory Effect (เดี๋ยวบอกว่าคืออะไร)

2. NickelMetalHydride (NiMH) เป็นตัวที่พัฒนาขึ้นจาก NiCd มีความจุเพิ่มขึ้นประมาณ 40% (โดยใช้ขนาดเท่าๆกัน) ไม่โดนผลกระทบจาก Memory Effect แต่มีรอบการชาร์จอยู่ที่ประมาณ 400 รอบ

3. LithiumIon (LiIon) เป็นตัวใหม่ (ปัจจุบันก็เห็นใช้กันเยอะแล้ว) สามารถทำงานได้นานขึ้นกว่า NiMH และน้ำหนักเบา แต่ราคาแพง และต้องใช้ที่ชาร์จที่ออกแบบเฉพาะสำหรับแบตเตอรี่แต่ละรุ่น มีรอบการชาร์จอยู่ที่ประมาณ 400 รอบเช่นกัน และไม่โดนผลกระทบจาก Memory Effect

มาอธิบาย Memory Effect เล็กน้อย
Memory Effect คืออาการที่แบตเตอรี่ลืมไปว่าตัวมันเองยังมีประจุที่ยังไม่ได้ใช้งานอยู่อีกเท่าไหร่ ซึ่งอาการนี้จะเกิดกับการใช้งานแบตประเภท NiCd ที่ใช้พลังงานไปยังไม่หมดแล้วทำการชาร์จใหม่ทันที เช่น ใช้ไป 50% แล้วทำการชาร์จใหม่จนเต็ม แล้วพอใช้ไปใหม่ได้แค่ 50% แบตก็จะบอกว่ามันหมดแล้ว โดยมันลืมไปว่าจริงๆแล้วยังสามารถคลายประจุได้อีก 50%
วิธีการหลีกเลี่ยงก็คือพยายามใช้ไฟจากแบตประเภท NiCd ให้หมดหรือเกือบหมดแล้วค่อยชาร์จใหม่ หรือทำแบบนี้ทุกๆ 1-3 สัปดาห์ ซึ่งเรียกว่าเป็นการปรับสภาพ (Conditioning)

พอรู้จักประเภทของแบตแล้ว คราวนี้พอซื้อแบตมาครั้งแรกเนี่ยควรชาร์จยังไงดี กี่ชั่วโมง?
จากที่อ่านมาคือถ้าเป็นแบตประเภท NiCd หรือ NiHM เนี่ย ควรชาร์จครั้งแรกประมาณ 16 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็น LiIon เนี่ยชาร์จครั้งแรกประมาณ 5-6 ชั่วโมง (นั่นคนขายมั่วใส่เราจริงด้วย เพราะที่เราซื้อเป็น LiIon)
สำหรับ NiCd หรือ NiHM ในการชาร์จครั้งแรกๆควรชาร์จให้เต็ม และใช้ให้หมด แล้วชาร์จให้เต็มใหม่ ประมาณ 2-4 รอบก่อนนำไปใช้งานจริง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเต็มที่ แต่ขณะที่ LiIon นั้นไม่จำเป็น
เค้าบอกว่าเวลาชาร์จครั้งแรกๆเนี่ยเป็นปกติเลยที่เครื่องมักบอกว่าชาร์จเต็มแล้วทั้งๆที่เพิ่งชาร์จไปได้แค่ 10-15 นาที ก็ไม่ต้องตกใจชาร์จต่อไป แต่บางเครื่องเนี่ยมันจะไม่ยอมชาร์จต่อ ก็ให้ถอดแบตแล้วชาร์จใหม่อีกรอบ เค้าบอกด้วยว่าอาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งในการชาร์จครั้งแรก
ถ้าแบตไม่ได้ใช้เป็นเวลานานแล้วก็ควรจะต้องทำกระบวนแบบนี้ใหม่เช่นกัน เรียกว่า re-initialization

คราวนี้พอใช้ปกติควรชาร์จใหม่เมื่อไหร่ดี?
อันนี้จะเกี่ยวกันกับเรื่องรอบการชาร์จ (cycle count) ว่าชาร์จยังไงถึงจะนับเป็น 1 รอบการชาร์จ เพราะว่ารอบการชาร์จก็ส่งผลโดยตรงกับอายุการใช้งานแบตซะด้วย
จากที่อ่านมาคือถ้าเป็นแบตประเภท NiCd เนี่ยไม่ว่ารอบจะใช้ไปเท่าไหร่ ถ้าเริ่มชาร์จปุ๊ปจะนับเป็น 1 cycle ทันที เช่นใช้ไปแค่ 30% แล้วเอาไปชาร์จก็นับเป็น 1 cycle เลย ในขณะที่ถ้าเป็นแบบ LiIon เนี่ยมันจะฉลาดกว่าคือมันจะนับ 1 cycle ถ้ามีการชาร์จรวมกัน(1 หรือหลายครั้ง) คิดเป็นประมาณ 80% ขึ้นไป เช่น ใช้ไป 20% แล้วชาร์จเต็ม แล้วใช้ไปอีก 20% แล้วชาร์จเต็มใหม่ แล้วใช้ไปอีก 50% แล้วชาร์จเต็มใหม่ แบบนี้ถึงจะนับเป็น 1 cycle (แต่ตัวเลข 80% นั้นไม่แน่นอน แต่ราวๆนั้น) ส่วน NiMH ไม่มีข้อมูล (แต่คิดว่าคล้าย NiCd)
ดังนั้นแบตพวก NiCd ควรใช้ไปเยอะๆก่อนแล้วค่อยชาร์จทีเดียว ส่วน LiIon ก็ชาต์จเมื่อไหร่ก็ได้

ต่อมาเรื่องอายุการใช้งาน
อันดับแรกเลยก็คือจำนวนรอบการชาร์จ (cycle count) ที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ตัวเลขที่แสดงให้ดูเป็นแค่การประมาณ อาจมากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ ถ้าใช้จนหมดแล้ว แบตจะเสื่อมและเก็บประจุไม่ค่อยได้แล้ว
นอกจากนั้นก็มีเรื่องการเก็บรักษาคือไม่ควรเก็บแบตไว้ในที่ร้อน เช่น ทิ้งไว้ในรถเวลารถตากแดด (อันนี้ผมทำบ่อยเลย สงสัยเป็นสาเหตุหนึ่งให้แบตเก่าผมเสื่อมเร็ว) และแบตประเภท LiIon เนี่ยไม่ควรปล่อยให้แบตหมดเกลี้ยง เพราะทำให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้น และอีกอย่างคือไม่ควรชาร์จจนเต็ม(ล้น)! (อันนี้แปลกดี ไม่รู้จริงรึเปล่า)
ถ้าเกิดว่าต้องไปต่างจังหวัด ต่างประเทศ ทำให้ไม่ได้ใช้งานโน๊ตบุ้คเป็นเวลานานๆ ก็ไม่ควรเสียบแบตฯค้างไว้ในเครื่อง ให้ถอดเก็บรักษาไว้ในที่แห้งและเย็นจะช่วยถนอมอายุการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

ถ้าใครทราบหรือรู้วิธีอะไรเพิ่มเติมสามารถบอกข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ

อ้างอิง

3 ความคิดเห็น:

Nui-Saran กล่าวว่า...

แวะมาอ่าน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ที่บอกว่าถ้าไม่ได้ใช้งานเวลานานๆ ก็ไม่ควรเสียบแบตฯค้างไว้ในเครื่อง ให้ถอดเก็บรักษาไว้ในที่แห้งและเย็นจะช่วยถนอมอายุการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น แต่พอกลับมาใช้ พอชาร์ทกลับกลายเป็นว่า ชาร์ทเท่าไหร่แบตก็ไม่เต็มอ่ะ อันนี้ต้องทำอย่างไรดี

KaizerWing กล่าวว่า...

ชาร์ตไม่เต็มคือได้ประมาณกี่ % ครับ?

บางเครื่องเมื่อชาร์ตเต็มแล้วจะตัดวงจรการชาร์จจนกว่าจะต่ำกว่า 95% (หรือราวๆนี้) แล้วค่อยชาร์จใหม่ ดังนั้นถ้าชาร์จข้ามคืนไว้ ก็เป็นไปได้ว่าจะเห็นแค่ 96, 97% เป็นต้น

หรือบางเครื่องที่ลองอ่านมาจะสามารถปรับค่า threshold ในการชาร์จได้ว่าชาร์จถึงเท่าไหร่จึงจะพอ http://ubuntuforums.org/showthread.php?t=340331

หรือลองถอดแบตจากเครื่องซักพักแล้วชาร์จใหม่ หรือลองใช้ให้หมดแล้วชาร์จใหม่หลายๆรอบดูครับ (ขึ้นกับประเภทแบต)